บทความ

โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120
ระบบการเรียน (Knowledge Management-KM)
ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน Worl Class Standrad (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิดThinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills บูรณาการร่วมวิชาคอมพิวเตอร์ ทักษะที่เพรียบพร้อม 4 ด้าน (1) ทักษะด้านรู้ภาษาดิจิตอล Digital Literacy (2) ทักษะด้านรู้คิดประดิษฐ์สร้าง (3) ทักษะด้านการสื่อสารมีประสิทธิภาพ (4) ทักษะด้านการสื่อสารมีประสิทธิผลสู่เป้าหมายคุณภาพ "ดี เก่ง มีความสุข" ตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------ครูชาญวิทย์

ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

1-วิธีการทางประวัติศาสตร์



วิธีการทางประวัติศาสตร์

                การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กาลเวลาและนักประวัติศาสตร์ ดังนั้นจำเป็นต้องมีวิธีการในการรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผล และข้อสรุป ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นตอนที่ 1  การตั้งประเด็นที่จะศึกษา นับว่าเป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ นักประวัติศาสตร์ หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจอยากรู้ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง โดยตั้งประเด็นคำถามว่า ศึกษาเรื่องอะไรในช่วงเวลาใด ทำไมจึงต้องศึกษา

                ขั้นตอนที่ 2  สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสอบสวนเข้าไปให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ประกอบด้วยหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ คำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุ บันทึกและเอกสารต่างๆ ในการสะสม และรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ เหล่านี้ นักประวัติศาสตร์จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณของตนสำรวจ เนื่องจากข้อมูลแต่ละประเภทเป็นผลิตผลที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องค้นหาต้นตอหรือสาเหตุของข้อมูลอย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันมิให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน

                ขั้นตอนที่ 3  การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง

                ขั้นตอนที่ 4  การคัดเลือกและประเมินข้อมูล นักประวัติศาสตร์จะต้องนำข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้มาคัดเลือก และประเมินเพื่อค้นหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ต้องการทราบ

                 ขั้นตอนที่ 5  การเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับอันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล  หรืออธิบายข้อสงสัย  เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบ ตลอดจนความรู้  ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบการรายงานอย่างมีเหตุผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น