บทความ

โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120
ระบบการเรียน (Knowledge Management-KM)
ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน Worl Class Standrad (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิดThinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills บูรณาการร่วมวิชาคอมพิวเตอร์ ทักษะที่เพรียบพร้อม 4 ด้าน (1) ทักษะด้านรู้ภาษาดิจิตอล Digital Literacy (2) ทักษะด้านรู้คิดประดิษฐ์สร้าง (3) ทักษะด้านการสื่อสารมีประสิทธิภาพ (4) ทักษะด้านการสื่อสารมีประสิทธิผลสู่เป้าหมายคุณภาพ "ดี เก่ง มีความสุข" ตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------ครูชาญวิทย์

ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

17-บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา


บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา
  • การที่ประเทศไทยของเราสามารถดำรงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจในสังคมโลกปัจจุบันนี้ได้นั้น ก็เพราะว่าแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมาเราคนไทยมีบรรพบุรุษที่มีความกล้าหาญเสียสละในการปกป้องและ สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมมาโดยตลอด ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและชาวบ้านบางระจัน เป็นตัวอย่างของพระมหากษัตริย์และประชาชน สมัยอยุธยาที่ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง อันสมควรที่เยาวชนคนไทยทั้งหลายจะยกย่องสรรเสริญ และยึดถือเป็นแบบอย่าง
                       
อนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจัน

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 - 2148)

  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระอัจฉริยะบุคคลอย่างเต็มภาคภูมิ ในยุคสมัยของพระองค์ ทรงเป็นนักการทหารที่มีพระปรีชาสามารถสูงเยี่ยม จนเป็นที่เล่าขานของคนร่วมสมัยทั่วไป พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของความเด็ดเดี่ยว กล้าเผชิญปัญหา ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือ ทรงเป็นแบบฉบับของนักการปกครอง ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินไทย โดยคำนึงถึงความสุขสบาย ส่วนพระองค์เลย จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ


พระราชประวัติ


  • พระนเรศวรทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิ์กษัตรี ประสูติที่เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2098 ทรงมีพระพี่นางหนึ่งองค์และพระอนุชาผู้ซึ่งครองราชย์ สมบัติต่อมาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระนเรศวรถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่เมืองพะโค(หงสาวดี) เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา ในคราวที่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและยึดเมืองพิษณุโลกไว้ได้และต่อมาก็ตีกรุงศรีอยุธยาได้ในปี พ.ศ. 2112 พระมหาธรรมราชาธิราชได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในฐานะเมืองขึ้นของพม่า
  • สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา โดยได้รับการ สถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก มีตำแหน่งในฐานะอุปราชหรือวังหน้า เมื่อพระราชบิดาเสด็จ สวรรคต พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
  • ทรงเสด็จสวรรคตที่เมืองฉาง รัฐฉานในพม่า เมื่อ พ.ศ. 2148 พระชนมพรรษาได้ 50 พรรษา พระอนุชาคือพระเอกาทศรถได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมาพระเกียรติคุณ
  • สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนินนโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย
  • ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ
  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองดังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127

พระเกียรติคุณ

  • สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนินนโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย
  • ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 

ด้านการปกครอง

  • เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระนเรศวรได้เริ่มขยายอำนาจไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น ล้านช้าง  เชียงใหม่  ลำปางและกัมพูชาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา 
  • เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการศึกสงครามหลายครั้ง รวมทั้งความพยายามฟื้นฟูอยุธยาหลังจากที่ถูก ปกครองโดยพม่า ทำให้พระองค์ทรงดำเนินนโยบายการปกครองที่เน้นระเบียบวินัยเข้มงวด 
  • นอกจากนี้ ทรงดำเนินนโยบายการปกครองแบบดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยส่งขุนนางออกไปปกครองเมือง สำคัญต่าง ๆ เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย

การขยายแสนยานุภาพทางการทหาร


  • สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำศึกสงครามเพื่อปกป้องบ้านเมืองตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ และเกือบตลอดรัชสมัยที่ทรงครองราชย์ ทั้งการสงครามกับพม่าและเขมรที่ยกกองทัพเข้ามารุกราน หัวเมืองของอาณาจักรอยุธยา ดังที่ชาวต่างชาติชาวฮอลันดาที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาได้พรรณนา เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า ทรงเป็นนักรบที่เก่งกาจ เป็น "วีรบุรุษนักรบ" ทรงรบชนะข้าศึก หลายครั้งและในหลายดินแดน

การขยายอำนาจทางการทหารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

  • ทำให้เขตแดนอาณาจักรอยุธยา แผ่ขยายออกไปกว้างไกลที่สุดนับแต่สถาปนาอาณาจักรขึ้นมา ครอบคลุมทั้งเขตแดนมอญ พม่า ล้านนา ไทยใหญ่ ล้านช้างและเขมร พระองค์ทรงอุทิศเวลาตลอดรัชสมัยในการทำสงครามเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กับอยุธยา จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ

เหตุการณ์สงครามยุทธหัตถี


  • พ.ศ. 2135 กองทัพพม่าโดยพระมหาอุปราชาพระโอรสของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เป็นแม่ทัพ คุมไพร่พลจำนวน 240,000 คน มาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพออกไป รับศึกที่บ้านหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี สงครามครั้งนี้มีความสำคัญและเป็นที่เลื่องลือในการสู้รบระหว่างสองอาณาจักร นั้นคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ที่บ้านหนองสาหร่าย สุพรรณบุรี และทรงใช้พระแสงของ้าวฟัน์ พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ทัพพม่าแตกพ่ายกลับไปและหลังจากสงครามครั้งนี้กรุงศรีอยุธยาว่างเว้นการสงครามกับพม่าเป็นเวลานานมากกว่า 150 ปี

ด้านการต่างประเทศ

  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศทั้งด้านการฑูต และการค้า พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการค้านานาชาติเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการค้าทางทะเลเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจอยุธยาซึ่งได้รับความเสียหายจากสงคราม
  • การฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยา ประการหนึ่งของพระองค์ก็คือ ทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าตะวันตกเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ชาวต่างชาติที่เข้ามาในรัชสมัยนี้ คือ ชาวดัตซ์หรือฮอลันดา พระองค์ทรงโปรด ฯ ให้ฮอลันดาเข้ามาตั้งสถานีการค้าที่อยุธยาและเมืองอื่น ๆ เช่น ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา


สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

พระราชประวัติ


  • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย  พระองค์จึงเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณบุรีและราชวงศ์พระร่วง  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอยุธยา    


พระราชกรณียกิจที่สำคัญ  

1. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา

  • เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๙๑ นั้น ทางสุโขทัยไม่มีพระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร  พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔   ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก ถึง พ.ศ. ๑๙๙๔  พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา  พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๖  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


2. ด้านการปฏิรูปการปกครอง


  • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระประสงค์ที่จะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือราชธานี  จึงลดบทบาทของเจ้านายลงและเพิ่มอำนาจให้ขุนนาง  เพื่อป้องกันการแย่งชิงอำนาจจากเชื้อพระวงศ์ เช่น ลดฐานะเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวงลงเป็นเมืองชั้นจัตวาและส่งขุนนางไปปกครองแทนเจ้านาย มีการแยกฝ่ายทหารและพลเรือนโดยใช้ขุนนางตำแหน่งสมุหพระกลาโหมดูแลกิจการฝ่ายทหาร  สมุหนายกดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร 
  • ทรงตรากฎมนเทียรบาลขึ้นเพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์  นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินาได้แก่  พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง   พ.ศ. ๑๙๙๘  เพื่อประโยชน์ในการลำดับชั้นของบุคคลว่ามีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจหน้าที่ต่างกันอย่างไร  เป็นการจัดระเบียบการปกครองให้มีแบบแผนรัดกุมกว่าเดิม
  • ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อยุธยาทำสงครามยืดเยื้อกับอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐)  ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับที่เมืองพิษณุโลกนานถึง ๒๕ ปี  เพื่อดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเพื่อความสะดวกในการป้องกันการรุกรานของล้านนา  ในระยะนี้จึงถือว่าเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา
  • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตใน พ.ศ. 2031  ทรงอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี นับว่านานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น